สหพันธ์เทนนิสนานาชาติ หรือ International Tennis Federation (ITF) เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล การรักษาและบังคับใช้กฎเทนนิส ควบคุมการแข่งขันของทีมระดับนานาชาติ แน่นอนว่ารวมไปถึงวัสดุพื้นสนามเทนนิสด้วย โดย ทาง ITF ได้พัฒนา Court Pace Classification Program ขึ้นเพื่อช่วยผู้ซื้อผลิตภัณฑ์พื้นผิวเทนนิส รับทราบถึงประเภทของ “วัสดุ” และ “ความเร็ว” ของพื้นผิวสนาม
สำหรับลูกค้าที่สนใจทำสนามเทนนิส ลำดับแรกเราแนะนำให้ลูกค้าเลือกวัสดุผิวสนามที่จะใช้ก่อน โดยประเภทของวัสดุสนามเทนนิสที่นิยมใช้ในประเทศไทย มีอยู่ 3 วัสดุ คือ อะคริลิค พียู และ หญ้าเทียม
สนามเทนนิสวัสดุอะคริลิค (Acrylic)
สนามเทนนิสที่พบเห็นรวมถึงสนามที่ใช้แข่งขัน ส่วนใหญ่เป็นระบบนี้ ตัววัสดุสามารถเลือกติดตั้งลงบนคอนกรีต หรือ ยางมะตอย เรียกว่าการติดตั้งสนามลักษณะนี้ว่าสนามผิวแข็ง (Hardcourt) หรือหากต้องการสนามที่มีผิวนุ่ม (Cushion court) จะมีชั้นวัสดุที่มีความนุ่มติดตั้งเพิ่มเข้ามา
สนามเทนนิสวัสดุโพลียูรีเทน (PU)
วัสดุโพลียูรีเทน (PU) เป็นพื้นสนามกีฬาที่เป็นที่นิยมในประเทศจีน พื้นPU เป็นวัสดุที่มีความนุ่มและทนต่อรอยขีดข่วน ทางเราคิดว่าพื้นชนิดนี้เหมาะกับลูกค้าที่อยากใช้งานสนามเพื่อเล่นกีฬาอื่นเพิ่มเติ่มนอกเหนือจากกีฬาเทนนิส
สนามเทนนิสวัสดุหญ้าเทียม
เป็นวัสดุที่เมื่อติดตั้งแล้วจะได้สนามที่ร่มรื่นสวยงาม ลักษณะใบหญ้าเลือกได้หลายชนิด เราแนะนำให้ใช้หญ้าเทียมแบบไม่ใส่ทราย (non-filled) ซึ่งจะลดขั้นตอนบำรุงรักษาสนามไปได้เมื่อเทียบกับหญ้าแบบใส่ทราย (sand-filled)
สนามดิน (Clay)
นอกเหนือ 3 วัสดุที่เป็นที่นิยมแล้ว เทนนิสยังสามารถติดตั้งบนคอร์ตดิน (Clay court) ลักษณะแบบเดียวกับที่ใช้จัดการแข่งขันเทนนิส French Open ซึ่ง Clay Court จัดเป็นสนามที่มีความเร็วลูกช้าที่สุด สามารถติดตั้งได้ทั้งในร่มและกลางแจ้ง อย่างไรก็ดีเพื่อให้สนามได้มาตรฐาน ดิน (Clay) ที่ใช้จำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ไม่สามารถใช้ดินในประเทศได้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก